การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ

  • จัดการอบรมให้ความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสอนทักษะการตรวจร่างกายเพื่อประเมินความรุนแรงของโรคให้กับพยาบาลประจำหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พยาบาลหอผู้ป่วยกายภาพเฉลิมพระเกียรติ 11
  • ปรับปรุงแบบฟอร์ม rt-PA check list ระบุข้อบ่งชี้และข้อห้ามของการใช้ยาสลายลิ่มเลือด (rt-PA) ซึ่งจะนำไปใช้เก็บข้อมูลในการเบิกจ่ายเงิน และแบบบันทึกระบุความสมัครใจหรือปฏิเสธการใช้ยา (inform consent)
  • ปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่มาถึงโรงพยาบาลภายใน 4-8 ชั่วโมง ให้มีแนวทางที่สอดคล้องกันในการส่งตรวจ CT perfusion และ CT angiogram
  • กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการตรวจสอบสิทธิ์การรักษาและการคิดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ของการรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด (rt-PA) หรือ ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ของการใส่สายสวนหลอดเลือดและใช้อุปกรณ์ในการลากหรือดูดลิ่มเลือดที่อุดตันออก (mechanical thrombectomy)
  • ปรับปรุงแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยผ่าน referral center
  • กำหนดแนวทางการทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ที่หอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ และหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • หาแนวทางการแก้ไขความล่าช้าของกระบวนการตรวจเลือดในการส่งตรวจผ่านช่องทางเร่งด่วน

แผนการพัฒนาต่อเนื่อง

  • การพัฒนาการดูแลผู้โรคหลอดเลือดสมองในหอผู้ป่วยสามัญให้ได้มาตรฐานใกล้เคียงกับหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (acute stroke unit)
  • พัฒนาบุคลากร และเพิ่มจำนวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหลอดเลือดสมองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีม รวมทั้งสนับสนุนให้ได้รับการอบรม หรือประชุมวิชาการอย่างต่อเนื่อง
  • พัฒนาการเฝ้าระวังและการคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่เกิดสัมพันธ์กับการผ่าตัด (perioperative stroke) หรือเกิดระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล (in-hospital stroke)
  • จัดทำแนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองแตกขึ้นสำหรับใช้ในโรงพยาบาลศิริราช
  • พัฒนาการใช้ระบบ Emergency Medical Service (EMS) และระบบโทรเวชกรรมในการดูแลรักษาและส่งต่อผู้ป่วยให้ครอบคลุมถึงโรงพยาบาลเครือข่าย
  • เตรียมการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเนื่องในงานวันโรคหลอดเลือดสมองโลก (world stroke day) โดยเน้นให้ประชาชนทราบถึงอาการเบื้องต้นของโรค ความรีบด่วนของการมาโรงพยาบาล การป้องกันโรค
  • วางแผนเชิงรุกสู่ชุมชนโดยรอบโรงพยาบาล โดยเน้นการป้องกันโรค และความตระหนักรู้ถึงอาการในระยะแรก ความจำเป็นของการรักษาอย่างเร่งด่วน
  • วางแผนในการประสานข้อมูลกับทีมเยี่ยมบ้านเพื่อการดูแลต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
  • แผนการจัดเก็บข้อมูลลงทะเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

อัตราความพิการและอัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองลดลง

ความเป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระดับประเทศและเอเชียอาคเนย์

การประเมินผลโครงการ

ประเมินโดยใช้ตัวชี้วัดที่ได้ตั้งไว้