MSU-SOS ; Success cases
เพราะการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองต้องแข่งกับเวลา
หากเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน ยิ่งวินิจฉัยเร็ว ให้ยาละลายลิ่มเลือดเร็วภายใน 3 ชั่วโมง
ก็จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการพิการถาวรลงได้
ทันทีที่ได้รับการแจ้งเหตุ จะมีการนำรถไปรับคนไข้ และรถ Mobile Stroke Unit ที่มีทีมการรักษา ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และนักรังสีการแพทย์ ก็จะไปยังจุดนัดพบ ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และสแกนสมอง จากนั้นภาพทั้งหมดจะถูกส่งแบบ Real-time ไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การวินิจฉัยได้อย่างชัดเจนว่าเป็นชนิดตีบ หรือชนิดแตก ในกรณีที่เป็นชนิดตีบ ก็จะได้ให้ยาสลายลิ่มเลือด เมื่อผู้ป่วยถูกส่งเข้าโรงพยาบาลแล้วก็จะมีกระบวนการรักษาต่อเนื่องกันไป
ในการรับทุนรอบแรกของกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้นำมาพัฒนาต้นแบบของรถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ จำนวน 2 คัน ภายในรถจะมีเครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องดูดเสมหะ รวมทั้งสร้างเครือข่ายของการปรึกษาทางไกลขึ้น โดยพื้นที่ที่ให้บริการรอบแรก ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) ได้แก่ เขตทวีวัฒนา ภาษีเจริญ และบางแค ยกเว้น พื้นที่ในระยะ 10 กิโลเมตรรอบโรงพยาบาลศิริราช, พื้นที่จังหวัดนนทบุรี ครอบคลุม 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง บางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง ไทรน้อยและปากเกร็ด และพื้นที่จังหวัดชลบุรีครอบคลุมทั้งจังหวัด
สำหรับเงินทุนเฟส 2 ที่ได้รับในปี 2564 นำไปพัฒนาระบบสื่อสาร ในการติดต่อจากในรถ Mobile Stroke Unit กับจุดที่เป็น satellite ในเบื้องต้นวางไว้ 6 จุด คือ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี, โรงพยาบาลคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จังหวัดเชียงราย และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม
จวบจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 3 ปี เราได้ให้บริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไปแล้วประมาณ 600 ราย
ซึ่งในจำนวนนี้มีโอกาสฟื้นคืนกลับมาใกล้เคียงปกติสูงถึง 70%
“เพราะความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้นได้
สร้างสรรค์ พัฒนาร่วมกัน สู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน”
ที่ทำให้โครงการนี้ได้เกิดขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนไทย เป็นการคืนความสุขกลับไปสู่ครอบครัวของประชาชนไทยทุกคน
7