มลพิษทางอากาศ (Air pollution) ในกรุงเทพฯและปริมณฑล
มลพิษทางอากาศ (Air pollution) คือการเกิดฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศของโลก เป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตของมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ณ วันนี้ ( 14 มค. 62) กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เผชิญกับ ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐานหลายจุด
สถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบจุดอันตรายที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5 ) เกินค่ามาตรฐานในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ สูงสุด ที่ริมถนนดินแดง เขตดินแดง ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 172 และ เขตสะพานควาย ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ อยู่ที่ 370 ซึ่งเป็นจุดที่ส่งผลต่อสุขภาพ (Hazardous)
แต่ทั้งนี้ สถานการณ์คุณภาพอากาศที่น่าเป็นห่วง อยู่ในพื้นที่ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ และที่ นครปฐม อ.เมืองนครปฐม ค่าดัชนีคุณภาพอากาศสูงสุดอยู่ที่ 185
คุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับ ‘เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ’ ปริมาณฝุ่นละอองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดย
- พื้นที่ริมถนน โดยสถานีวัดคุณภาพอากาศแสดงผลค่าฝุ่นละออง PM2.5 โดยรวมอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ มีค่าเกินมาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) อยู่ 19 พื้นที
- พื้นที่ทั่วไป (ห่างจากริมถนนสายหลัก) โดยรวมอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ มีค่าเกินมาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) อยู่ 17 พื้นที่
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ดังนี้
1. สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น
สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกเลยคือ ไปหาซื้อ Mask หรือหน้ากากปิดปาก เอาไว้สวมป้องกันฝุ่นละอองก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง หรือซื้อติดกระเป๋าไว้เลย จะได้หยิบมาใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง
หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก กลางแจ้ง ควรลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นขณะอยู่กลางแจ้งตลอดเวลา
3. เตรียมยาให้พร้อม
สำหรับใครที่มีอาการภูมิแพ้ แพ้ง่าย เช่น แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ (ช่วงฤดูกาลเปลี่ยนแปลง) ควรเตรียมยาแก้แพ้ติดตัวไว้เสมอ
4. คนกลุ่มเสี่ยง อย่าออกนอกบ้าน
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่อาจจะมีอาการป่วยได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้มีโรคประจำตัว ดังต่อไปนี้ โรคทางเดินหายใจ, โรคเยื่อบุตาอักเสบ, โรคผิวหนัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด หากคุณเข้าข่ายเป็นกลุ่มบุคคลเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน
5. หากมีอาการ รีบพบแพทย์
ในช่วงนี้ หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึงถ้าคุณไม่ได้สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง แนะนำว่าควรไปพบแพทย์
ข้อมูล ณ วันที่ 14 มกราคม 2562 อ้างอิงจาก http://aqicn.org/city/bangkok
About the Air Quality and Pollution Measurement: About the Air Quality Levels
อ้างอิงจาก http://aqicn.org/city/bangkok