ขอบเขตการทำงาน
- การบริการ ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองจะมุ่งเน้นพัฒนาการให้บริการแบบสหสาขา โดยความร่วมมือกันระหว่างส่วนงานต่างๆได้แก่ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ภาควิชารังสีวิทยา ภาควิชาศัลยศาสตร์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล งานการพยาบาลอายุรศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก งานการพยาบาลปฐมภูมิ ฝ่ายเภสัชกรรม และฝ่ายโภชนาการ ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ในรายละเอียดดังนี้
- 1.1 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่จะได้ประโยชน์จากการรักษาผ่านช่องทางเร่งด่วน (acute stroke fast track) โดยการให้ยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 4.5 ชั่วโมง
- 1.2 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่มีอาการภายใน 8 ชั่วโมง ที่มีข้อบ่งชี้ของการใส่สายสวนหลอดเลือดและใช้อุปกรณ์ในการลากหรือดูดลิ่มเลือดที่อุดตันออก (mechanical thrombectomy)
- 1.3 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่มาถึงโรงพยาบาลภายหลัง 8 ชั่วโมง
- 1.4 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่เกิดสัมพันธ์กับการผ่าตัด (perioperative stroke) หรือเกิดระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล (in-hospital stroke)
- 1.5 การดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
- 1.6 การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในหอผู้ป่วยอายุรกรรม
- 1.7 การตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Carotid Ultrasound and Transcranial Doppler Ultrasound) รวมทั้งการสืบค้นเพิ่มเติมเพื่อตัดสินการรักษา เช่นการตรวจ CT perfusion study และ CT Angiogram
- 1.8 การทำกายภาพฟื้นฟูในระหว่างอยู่โรงพยาบาล
- 1.9 ให้คำแนะนำด้านโรคหลอดเลือดสมอง
- 1.10 การดูแลต่อเนื่องและการเยี่ยมบ้าน
- การสอน ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านทางระบบประสาท แพทย์เฉพาะทางโรคหลอดเลือดสมองให้เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญตามหลักสูตรแพทยสภา จัดการเรียนการสอนในระบบสหวิทยาการ (multidisciplinary system) แก่นักศึกษาแพทย์ในระดับปริญญาตรีและระดับหลังปริญญา รวมทั้งจัดอบรมให้ความรู้พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ในระดับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
- การวิจัย เป็นศูนย์กลางการทำวิจัยด้านโรคหลอดเลือดสมอง การวิจัยทางคลินิก การวิจัยเชิงระบาดวิทยา โดยศูนย์จะทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมและประสานงานวิจัยที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานในลักษณะสหสาขา หรือสหสถาบัน มีเป้าหมายในการนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดสมองซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ
- การบริการวิชาการ เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารในการเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยทางด้านการรักษาและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องและประชาชน รวมถึงการให้บริการในเชิงรุกโดยการออกชุมชนโดยมุ่งเน้นการป้องกันปัจจัยเสี่ยงและการตระหนักรู้ถึงอาการของโรคในระยะแรกเพื่อให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลโดยด่วนเพื่อลดอัตราตายและพิการ
- การฝึกอบรมและดูงาน เป็นศูนย์วิชาการด้านโรคหลอดเลือดสมองสำหรับการฝึกอบรมและดูงานของแพทย์ประสาทวิทยาและแพทย์หรือพยาบาลด้านโรคหลอดเลือดสมองจากโรงพยาบาลต่างๆทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุนการร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ